ประวัติโรงเรียน

     โรงเรียนเมืองน้อยวิทยาคม ก่อตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการสภาตำบลเมืองน้อย  โดยการนำของนายไพโรจน์   วงศ์สมศรี  กำนันตำบลเมืองน้อย  และพระคุณเจ้าหลวงปู่อมร ธรรมโสธิต เจ้าคณะตำบลเมืองน้อยร่วมกับประชาชนตำบลเมืองน้อย และตำบลใกล้เคียง ได้มีมติเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรมีการขอตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลขึ้นในพื้นที่ตำบลเมืองน้อย เพื่อให้ลูกหลานในพื้นที่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระดับมัธยมมากขึ้น จึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางราชการ  และกรมสามัญศึกษาได้อนุมัติตั้งเป็นสาขาของโรงเรียนเทิดไทวิทยาคม ขึ้นในปี พ.ศ. 2537 โดยครั้งแรกได้ใช้ศาลาการเปรียญวัดบ้านเมืองน้อยเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว โดยมีนายมงคล ภาธรธุวานนท์ เป็นผู้ดูแลสาขา

 

โรงเรียนเมืองน้อยวิทยาคม ตั้งอยู่ถนนรณชัยชาญยุทธ หมู่ที่ 8  ตำบลเมืองน้อย  อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 16 กิโลเมตร สร้างบนพื้นที่สาธารณะ  และที่ดินชาวบ้านบริจาคเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ 2 งาน

ปีการศึกษา 2537  สภาตำบลเมืองน้อยและชุมชนชาวบ้านได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง ขนาด 3 ห้องเรียน ครูอาจารย์ 4 คน มีนายมงคล ภาธรธุวานนท์ เป็นผู้บริหารคนแรก

ปีการศึกษา 2538 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเมืองน้อยวิทยาคม”

ปีการศึกษา 2539 ได้อาคารเรียนแบบเบ็ดเสร็จ ก,ข,ค จำนวน  3 หลัง

 

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปีการศึกษา 2540 ได้เปิดสอนในระดับชั้น ม.ปลาย จำนวน 1 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2541 ได้รับงบประมาณสร้างถนนคอนกรีต และหอถังประปา

ปีการศึกษา 2542 ได้รับงบประมาณสร้างถนนคอนกรีตเป็นระยะทาง 250 เมตร

ปีการศึกษา 2548 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต.เมืองน้อย จัดสร้างถนนคอนกรีต และจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์

         ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเมืองน้อยวิทยาคม  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 16 คน นักเรียนจำนวน 147 คน จำนวนห้องเรียน 6 ห้องเรียน

2. สภาพทั่วไป

     2.1   สถานที่ตั้ง

     โรงเรียนเมืองน้อยวิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 45 หมู่ที่ 8  ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลเมืองน้อย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 16 กิโลเมตร สร้างบนพื้นที่สาธารณะ  และที่ดินชาวบ้านบริจาคเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ 2 งาน อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่รับผิดชอบการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาของพื้นที่บริการ 13 หมู่บ้าน